เครือข่าย
นักวิชาการและผู้รู้หลายท่านทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้ให้คำจำกัดความและความหมายของ
“เครือข่าย (Network)” ไว้มากมาย
แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้
ในพจนานุกรมของ
The Webster’s Collegiate ได้ให้คำจำกัดความของ
“เครือข่าย” ไว้ว่า
เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือบริการกันระหว่างบุคคล กลุ่มหรือสถาบัน
Paul Starkey ที่ปรึกษาทางวิชาการด้านการสร้างเครือข่ายในแอฟริกา ให้ความหมายของ “เครือข่าย” ว่า คือ
กลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน
หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ในลักษณะที่บุคคลหรือองค์กรสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตน
ในความหมายนี้ สาระสำคัญ คือ
ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
กิจกรรมที่ทำในเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่าเทียมกันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
และการเป็นสมาชิกของเครือข่ายไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอิสระหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนหรือองค์กรนั้นๆ
“เครือข่าย” คือ
การเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจ
ที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน
โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ
เท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน
ประเด็นสำคัญของนิยามข้างต้น คือ
<!--[if
!supportLists]-->1. <!--[endif]-->ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
<!--[if
!supportLists]-->2. <!--[endif]-->กิจกรรมที่ทำในเครือข่ายต้องมีลักษณะเท่าเทียมหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
<!--[if
!supportLists]-->3. <!--[endif]-->การเป็นสมาชิก
เครือข่ายต้องไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอิสระหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนหรือองค์กรนั้น
ๆ
ทฤษฎีเครือข่ายและแนวคิดการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายในการทำงานเชิงพัฒนา
มีแนวโน้มที่จะเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรที่ทำงานพึ่งพิงซึ่งกันและกัน
มากกว่าที่จะแข่งขันกัน ทฤษฎีและแนวคิดที่อธิบายการสร้างเครือข่ายการทำงาน ได้แก่
1. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) อธิบายถึงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน
ดังนั้น เหตุผลหลักที่จะทำให้เครือข่ายเกิดขึ้นได้โดยสมัครใจ ก็คือ
แต่ละฝ่ายมองเห็นประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการเข้าร่วมเครือข่าย
ซึ่งจะนำไปสู่ความเต็มใจที่จะประสานกันหรือเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
2. แนวคิดการรวมพลัง (Synergy) เป็นการผนึกกำลังในลักษณะที่มากกว่า
1+1 = 2 แต่ต้องเป็น 1+1 > 2
หมายความว่า การรวมพลังกันทำงานนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีคุณค่าหรือเข้ม
แข็งมากกว่าการที่แต่ละองค์กรจะทำงานโดยโดดเดี่ยว
ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต
- จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่
1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe)
อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี
ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น
และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย
ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
- เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง
ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance
Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา
(U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง
ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
1. สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด
(SRI International)
2. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
(University of California, Los Angeles(UCLA)
3. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University
of California, Santa Barbara(UCSB)
4. มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University
of Utah)
คอมพิวเตอร์จากสถานที่ทั้งสี่เริ่มสามารถ
ติดต่อสื่อสารกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969
<!--[if
!vml]--><!--[endif]-->
อินเตอร์เน็ต (Internet)
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก
คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์)
และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software)
และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน
โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC
(Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก
องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
อินเตอร์เน็ต
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว
ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก
เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน
เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา
การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์
การศึกษาทางไกล ฯลฯ
เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย
ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน
จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ
20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ
ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้
แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์
ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน
(Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์
เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่
เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม
หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง
ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET
เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย
ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET
ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET ที่เป็นระบบเปิด
ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical
Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น
ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet)
ในที่สุด
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก
ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก
ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์
อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบันจุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ
ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม
เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า
Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง
ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น
จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน
มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ
ว่า WEB ในปัจจุบัน
ในด้านการศึกษา
อินเตอร์เน็ตรองรับการใช้งานในด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มาตั้งแต่ต้นแล้ว
เพียงแต่ขอบเขต ของการให้บริการตลอดจน
จำนวนและรูปแบบของบริการเพิ่งจะมีอัตราเติบโตที่สูงมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้
แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์อาศัยเพียง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูลงานวิจัย
ไปยังกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต่อมามีการใช้งานกลุ่มสนทนา (Discussion
Forum) ที่เรียกว่า USENET Newsgroups ซึ่งทำให้สามารถรวมผู้คน
เข้ามาปรึกษาหารือได้คราวละมาก ๆ โดยในแต่ละ FORUM จะมีเรื่องที่กำหนดหัวข้อไว้เช่น
soc.culture.thai เป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับเมืองไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม
สังคม การเมือง และเรื่องทั่วไป comp.security เป็นกลุ่มสนทนาที่จะคุยกัน
เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมีกลุ่มสนทนาอยู่กว่า 8000 กลุ่มบนอินเตอร์เน็ต
จากนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ไม่จำกัดอยู่ใน วงการอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้น
บุคคลทั่วไปที่สนใจก็สามารถเข้าไปสนทนาในเรื่องวิชาการใดใดก็ได้
ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการศึกษานอกโรงเรียน (Informal Education)
เป็นอย่างมาก ยิ่งภายหลังจากที่เทคโนโลยี WEB ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการอินเตอร์เน็ต
ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก รูปแบบการใช้งาน (Applications)
นั้นมีเหลือคณานับ เช่น การใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบทางไกล (Distant
Education and Wide Area Learning) สามารถส่งข้อมูลทั้งข้อความ
รูปภาพ วิดีโอ เสียง อนิเมชัน ไปยังนักเรียนได้ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต
เรียกว่ามหาวิทยาลัยจำแลง (Virtual University) ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง
ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตัวมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ที่ทำการเล็ก ๆ
เท่านั้นแต่นักศึกษาจะมีความรู้สึกว่าใหญ่ เมื่อเข้าไปเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยจำแลง
ที่อาศัยบริการอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักศึกษาที่ห่างไกล
มหาวิทยาลัยจริงหลาย ๆ แห่งก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดฝึกอบรมและสัมนาทางไกล
มีงานประชุมทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายแห่งที่เปลี่ยนจากการประชุมจริง
มาเป็นการจัดบนอินเตอร์เน็ต โดยยังอิงรูปแบบของงานประชุมจริง ๆ ไว้
อินเตอร์เน็ต (Internet
Phone) จนถึงการประชุมแบบเห็นภาพ (Video Conference) ทุกวันนี้เมื่อมีความรู้เกิดขึ้น ณ ที่ใด
มันสามารถที่จะถ่ายเทไปยังที่อื่น ๆ ได้เร็วขึ้น
ทำให้ผู้คนได้มีโอกาสเสวยสุขกับทรัพยากรทางปัญญาได้รวดเร็ว และ ทั่วถึงกว่าเดิม
กล่าวคือ มันได้เพิ่มอำนาจแก่มวลชน เพราะเมื่อมวลชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น
คุณภาพทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้
ระหว่างกันทั่วถึงขึ้น ย่อมกระจายอำนาจการตัดสินใจไปสู่กลุ่มคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น
การตัดสินใจใดใดของรัฐบาลจะถูกควบคุมโดยพลังสารสนเทศของมวลชน
การทำธุรกิจจะเป็นไปในแนวทาง
ที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนทั้งนี้ภาคธุรกิจจะสามารถทราบความต้องการของมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น
ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The
Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน
เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่
ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ
มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค
ความสำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก
เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน และสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด
หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
ของหนังสือพิมพ์
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก
ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา
ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
1. ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ
ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น
ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง
ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
2. ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2. สามารถซื้อขายสินค้า ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
3. เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้า ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ
และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ
สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
3. ด้านการบันเทิง อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
1. การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น
ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
2. สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
3. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์มาดูได้
ประเภทของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. PAN ( PERSONAL AREA NETWORK) เครือข่ายแบบบุคคล
-เชื่อมโยง อุปกรณ์การสื่อสารหลายๆ
เครื่องเข้าด้วยกัน
-ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 1 เมตร
-ความเร็ว ประมาณ 10 Mbps
-ใช้สื่อ IrDA Port, Bluetooth, Wireless
2.LAN ( LOCAL AREA NETWORK) เครือข่ายแบบท้องถิ่น
-เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลายๆ
เครื่องเข้าด้วยกันติดต่อ เชื่อมโยงในระยะใกล้ เช่น ภายในตึก องค์กร สำนักงาน
-ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
-ความเร็ว ประมาณ 10 – 100 Mbps
-ใช้สื่อ Coaxial, UTP, STP, Fiber Optical, Wireless
3. MAN (METROPOLITAN AREA NETWORK)
-เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล
เช่นติดต่อข้ามจังหวัด
-ระยะทาง 100 กิโลเมตร
-ความเร็ว 1 Gbps
-ใช้สื่อ Fiber Optical, Microware, Satellite
4. WAN (WIDE AREA NETWORK)
-เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลมาก
ครอบคลุมทั่วโลก
-ความเร็ว 10 Gbps
-ใช้สื่อ Microware, Satellite
PAN ( PERSONAL AREA NETWORK)
PAN คือ
"ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area
Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน
1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480
Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide
Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE
802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals)
ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้
และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition
video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ
MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ
(ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ
ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์
เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth
Special Interest Group (http://www.bluetooth.com/) เริ่มก่อตั้งในปี
1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM,
Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth
(บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ
(PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ)
โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-pointข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)ข้อดีคือ1.
สะดวกต่อการใช้งาน2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว3.
มีการรับรองเครือข่าย4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ข้อเสีย
คือ1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร2.
การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้3. ติดไวรัสได้ง่าย4.
ราคาแพงประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ
Personal Area Network (PAN) กลุ่มของเราได้รวบรวมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันที่
จะประดิษฐ์ แว่นตาที่สามารถส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
โดยการประมวลภาพจากสิ่งที่เห็น
แล้วแปลงเป็นคลื่นสัญญาณส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลกลาง
แล้วเครื่องรับข้อมูลกลางก็จัดส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับตัวอื่นๆด้วย
เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทำให้คุณสามารถสร้างเครือข่าย อีเทอร์เน็ต
ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ
และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ
คุณสามารถเชื่อมต่อกับชนิดของอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธซึ่งใช้กับ PAN ได้ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคล (PANU)
อุปกรณ์ที่ให้บริการในเครือข่ายเฉพาะกิจแบบกลุ่ม (GN) หรืออุปกรณ์ในจุดเข้าใช้งานเครือข่าย (NAP)ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดดังกล่าว
•อุปกรณ์ PANU การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
PANU ที่รองรับบลูทูธจะสร้าง เครือข่ายเฉพาะกิจ
ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณและอุปกรณ์ดังกล่าว
•อุปกรณ์ GN การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
GN ที่รองรับบลูทูธจะสร้างเครือข่ายเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณ
อุปกรณ์ GN ดังกล่าว และอุปกรณ์ PANU ใดๆ
ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ GN เดียวกัน
•อุปกรณ์ NAP การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
NAP ที่รองรับบลูทูธจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณกับ
เครือข่าย ที่ใหญ่กว่า เช่น เครือข่ายภายในบ้าน เครือข่ายภายในบริษัท
หรืออินเทอร์เน็ตหมายเหตุโทรศัพท์มือถือและเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA)
บางเครื่องสามารถใช้งานได้เฉพาะกับเครือข่ายการเรียกผ่านสายโทรศัพท์
บางเครื่องใช้ได้เฉพาะกับเครือข่าย PAN และบางเครื่องสามารถใช้ได้กับบริการทั้งสองแบบ
เมื่อต้องการค้นหาว่าอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธของคุณจะสามารถใช้งานได้กับบริการใด
ให้ตรวจสอบข้อมูลที่มากับอุปกรณ์
LAN ( LOCAL AREA NETWORK)
Lan (Local Area Network) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ๆ
กันเครือข่าย Lan ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันในส่วนต่างๆ
ขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกันระหว่างชั่นอาคาร
สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น การเชื่อมโยงเครือข่าย Lan
มี 4 รูปแบบดังนี้
1. Ethernet LAN มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว
10-1000 Mbps. ใช้พื้นฐาน Topology แบบบัส
โดยอุปกรณ์ทุกอย่างจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวโดยต้องมีมีการจัดการเรื่องการสื่อสารไม่ให้รับส่งพร้อมกัน
เกินกว่าหนึ่งคู่โดยให้อุปกรณ์ ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใด
วิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้
และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่
2. Token Ring มีความเร็ว 16 Mbps เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดยแฟ็กเกจข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่งถ้าทราบแอดเดรสปลายทางแล้ว
Token จะถูกระบุว่าปลายทางอยู่ไหน Token จะถูกส่งไปเลยๆ จนเจอปลายทางแล้ว Token จะถูกปลอยให้ผู้อื่นใช้งนต่อไป
อุปกรณ์นั้นจะถูกรับข้อมูลต่อไป
การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ
3. ARCNET เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ Token-bus
ในการจัดการ line sharing ระหว่างเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์อื่นๆ
เครื่องแม่ข่ายจะส่งเฟรมข้อความเปล่าไปตาม Bus เมื่ออุปกรณ์ต้องการจะส่งข้อมูลก็จะใส่
Token ไปด้วยในเฟรมข้อมูลเปล่าจะที่ฝากข้อมูลไปด้วย
เมื่ออุปกรณ์จุดหมายได้รับก็ใส่ Token เป็น 0 ลงไปแทนเฟรมนั้นก็จะพร้อมนำกลับมาใช้ได้ ใหม่
4. FDDI (Fiber Distributed Data Interface) ทำงานบนสาย
Fiber Optic ทำงานได้ระยะทางไกลถึง 200
กม. ใช้ Protocol ของ Token Ring โดยจะมี
Token Ring ซ้อนกัน 2 วง เป็น Back
Up กันและกันให้บริการได้ถึง 100 Mbps
อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย LAN
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->LAN Card คือ Card
ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก
เท่ากับ VGA Card หรือ Card สำหรับ Lan
Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ
เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mbps
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]--> LAN Cable คือสายสัญญาณทีมีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์
ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTP ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำ
ไปใช้ เช่นติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->UTP (Unshielded Twisted Pair) STP
(Shielded Twisted Pair)
HUB คืออุปกรณ์ที่ใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ
หรือข้อมูลด้วยปกติการเลือกซื้อ Hub จะดูที่จำนวนพอร์ด (Port)
ที่ต้องการ เช่น 8 Port , 16 Port , 24 Port
MAN (METROPOLITAN AREA NETWORK)
MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area
Network คือ เครือข่ายระดับเมือง
ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน
หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ
จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง
เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้
คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max
WAN (WIDE AREA
NETWORK)
WAN (Wide Area
Network) เป็นการแบ่งเครือข่ายโทรคมนาคมตามลักษณะภูมิศาสตร์
และข้อความที่เป็นการจัดขอบเขตของโครงสร้างโทรคมนาคมจากเครือข่ายแบบท้องถิ่น (Local
Area Network - LAN) เครือข่ายแบบ WAN จะเป็นเจ้าของโดยเอกชนแต่ข้อความนี้มักจะหมายถึง
เครือข่ายสาธารณะ ส่วนเครือข่ายที่อยู่ในรูปแบทางภูมิศาสตร์อีกแบบ คือ Metropolitan
Area Network (MAN)
ระบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต
เป็นระบบเครือข่าย ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายทั่วโลกเข้าด้วยกัน
อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุก ๆ
ด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาค้นคว้า ได้สะดวก รวดเร็วและ ง่ายดาย
TCP/IP : ภาษาสื่อสาร
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงไว้ในระบบ
จะสามารติดต่อกันได้นั้น ต้องมีภาษาสื่อสาร ที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแตกต่างกันตามระบบที่ใช้
ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในระบบต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกัน
ในระบบอินเตอร์เน็ตจะใช้ภาษาสื่อสารเดียวกันซึ่งถือว่าเป็นภาษามาตราฐานที่ชื่อว่า
TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก ( Transmission
Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นภาษาหลักที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อถึงกันได้
อินทราเน็ต
อินทราเน็ต คือ
ระบบเครือข่ายซึ่งใช้กันเฉพาะภายใน
โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับอินเทอร์เน็ตและใช้โปรโตคอลเดียวกัน
ด้วยลักษณะการใช้งานที่เฉพาะภายในกลุ่มจึงทำให้อินทราเน็ตมีความปลอดภัยสูง
มักถูกนำเอาไปใช้งานกับองค์กร บริษัท หรือหน่วยงานต่างๆในการจัดการภายใน
ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บเอกสาร การเผยแพร่ข่าวสาร ระบบเงินเดือน ห้องสนทนา
และอื่นๆอีกมากมาย
เอ็กซ์ทราเน็ต
เอ็กซ์ทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก
หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน
ลักษณะการทำงานจะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน
เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่นการดูแลจัดการสำนักงานของบริษัทแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน
เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อมักจะปิดกั้นเฉพาะภายใน
แต่อาจมีการเปิดให้ผู้ใช้งานภายนอกเข้ามาใช้งานหรือแบ่งระดับการเข้าใช้ข้อมูลได้เช่นกัน
การเชื่อมโยง เครือข่ายของระบบ LAN
มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง
โครงข่ายของระบบเครือข่าย (Topology) และ โพรโตคอล
ที่ใช้ในระบบ LAN และจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LAN มีดังต่อไปนี้
3.1 โครงข่ายของระบบเครือข่าย(Topology)
3.2 โพรโตคอลที่ใช้ในระบบ LAN
3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
3.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ LAN
3.1 โครงข่ายของระบบเครือข่าย (Topology)
เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายของระบบ LAN วิธีหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบดาว (Star)
2. แบบวงแหวน (Ring)
3. แบบบัส และ ทรี (Bus and Tree)
แบบดาว (Star)
ในโทโปโลยี แบบดาว
นั้นจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์
เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว
คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน
เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง
สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย
ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง
ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้
ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย
แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก
แบบวงแหวน (Ring)
ในโทโปโลยี(รูปแบบการเชื่อมต่อ) แบบวงแหวน(Ring) นั้น ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน
แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU
1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี
เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ
เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก
แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน
โทโปโลยี
วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย
ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด
สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ
มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป
ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ
ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ
สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง
ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้
เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ
เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้
แบบบัส (Bus)
ในโทโปโลยี
แบบบัส และทรี (Bus and Tree) นั้นได้มีการทำงานที่คล้ายกันกล่าวคือ
แบบบัส จะมีเคเบิลต่อถึงกันแบบขนาน ของแต่ละโหนด ส่วนแบบทรีนั้น
จะมีการต่อแยกออกเป็นสาขาออกไปจากเคเบิลที่ใช้แบบบัสนั้นเอง ดังนั้นเมื่อมีการส่งข้อมูลจากโหนดใดทุกๆ
โหนดบนระบบข้อมูลจะเข้าถึงได้ เนื่องจากอยู่บนเส้นทางสื่อสารเดียวกัน
ในการส่งข้อมูลนั้น จะส่งเป็นเฟรม ข้อมูลซึ่งจะมีที่อยู่ของผู้รับติดไปด้วย
เมื่อที่อยู่ผู้รับตรงกับ ตำแหน่งของโหนดใดๆ บนระบบ โหนดนี้จะรับข้อมูลเข้าไป และส่งข้อมูลมาพร้อมกันนั้นจะเกิดการชนกันของข้อมูล
แล้วจะสุ่มเวลาขึ้นใหม่เพื่อส่งข้อมูลต่อไป ในการสื่อสารตามมาตรฐาน 802.4 นั้นมีด้วยกัน 3 แบบคือ แบบที่ 1 มีความเร็ว 1 Mbps ใช้สายข้อมูลแบบโคแอกเชียล 75 โอห์ม และสายเคเบิลหลักจะต้องไม่มีการต่อแยกแขนงออกไป ในแบบที่ 2 ซึ่งเรียกกันว่าแบบเบสแบนด์นั้นจะมีความเร็ว 5-10 Mbps ใช้สายแบบเดียวกับแบบที่ 1
แต่สัญญาณภายในจะเข้ารหัสแบบ FSK และแบบที่ 3 หรือ แบบบรอดแบนด์ จะใช้สายทรังก์ ซึ่งสามารถใช้ได้กับความเร็ว 1,5 และ 10 Mbs ซึ่งสัญญาณภายในสายจะเป็นแบบ AMนั้นเอง
อังคณา ไพรเพ็ชศักดิ์
s ซึ่งสัญญาณภายในสายจะเป็นแบบ AM
นั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น