การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการสอน
เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง ทำให้การเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย
ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector) มีเครื่องคอมพิวเตอร์
มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ
รูปแบบของสื่อการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น มัลติมีเดีย อิเล็กทรอนิกส์ยุค
วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ ไฮเปอร์เท็กซ์ คอมพิวเตอร์
และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
มีแนวทางการใช้ มีอยู่ 6 ประเภท
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้
ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน ซีเอไอ ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted
Instruction หรือเรียก ย่อๆ ว่า ซีเอไอ (CAI) การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อ
ประสม (Multimedia) หมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง
ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด
จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง
และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
การศึกษาทางไกล
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ
ตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง
ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม
หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยให้ผู้สอน
และผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอนเพิ่มเติม
เครือข่ายการศึกษา
เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู
อาจารย์ และนักเรียน
นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก
และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น
บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ
ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต
ที่เนคเทคได้ส่งเสริมให้เกิดขึ้นและมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 4.393 โรงเรียน
และยังมีเครือข่ายกาญจนาภิเษกที่จัดทำขึ้น
เพื่อเป็นการกระจายความรู้ให้กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
การใช้งานในห้องสมุด
ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ
และเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน
นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการร่วมมือในการให้บริการในลักษณะเครือข่าย
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
มากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ
วารสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง
ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน
ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
การใช้ในงานประจำและงานบริการ
การใช้ในงานประจำและงานบริการ เช่น
การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียนนักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน
การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ
ข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว
ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดี
รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
แนวโน้มนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียน
การสอน
แนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
จะมุ่งเน้นในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย
ให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษาและวิจัย
ด้านความบันเทิง รวมถึงด้านความมั่นคง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสารเป็นพื้น
ฐานสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ให้เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลไร้พรมแดน
หรือ Ubiquitous
Information Society ที่ข้อมูลและข่าวสารได้รับการเชื่อมโยง
อังคณา ไพรเพ็ชศักดิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น